"ลงทุนในเวีดยนาม"
ถ้าพูดถึงประเด็นนี้ในโลกการลงทุนขึ้นมา เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองไปในทางบวก
โดยเฉพาะช่วง 3-4 ปีแล้ว เรียกได้ว่า "ร้อนแรง" เป็นอย่างมาก และได้รับการยอมรับว่าเป็นการลงทุนแนว Value Investment ที่หุ้นราคาไม่แพงและพร้อมจะเติบโตต่อไปได้ในอนาคต
แต่หลังจากช่วงโควิดที่ผ่านมา หรือ 1-2 ปีมานี้ ความร้อนแรงค่อยๆลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อาจจะเป็นเรื่องของประเด็นภาคอสังหาริมทรัพย์ของเวียดนาม เศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตได้ต่ำเป้าที่นักลงทุนวาดไว้
และเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง ไปอยู่ในตราสารหนี้ที่มีความเสี่้ยงต่ำกว่า
ส่งผลให้ตลาดหุ้นไม่ได้ Outperform เท่าไรนัก
ในปี 2566 ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง
โดยสื่ออย่าง Bloomberg รายงานว่า GDP ในปี 66 เวียดนามมีแนวโน้มโตราว 4.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งน้อยกว่าปี 65 ที่ GDP โตราว 8.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยสาเหตุมาจากภาคการส่งออก (สัดส่วนราว 93% ของ GDP) ที่หดตัวในช่วงครึ่งปีแรก
และยอดการเติบโตสินเชื่อที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 4 ครั้ง ครั้งละ 0.5% (ปัจจุบันอยู่ที่ 4.5%) ในช่วงครึ่งปีแรก
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 4.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปัญหาในภาคอสังหาฯ เริ่มมีทิศทางดีขึ้น หลังรัฐบาลได้เร่งแก้ไขกฎหมายเพื่อขจัดปัญหาคอขวดในภาคอสังหาฯ รวมถึงได้ออกมาตรการณ์ยืดระยะเวลาชำระหนี้เพื่อช่วยให้บริษัทอสังหาฯ มีสภาพคล่องสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แต่ถ้าเราพิจารณาในปี 2567 จะพบว่ามีปัจจัยบวกค่อนข้างมาก
และอาจจะกลายเป็นทองของการลงทุนในหุ้นเวียดนามก็เป็นได้
นักวิเคราะห์จาก Bloomberg แสดงความคิดเห็น 4 ข้อถึงปัจจัยบวกในเวียดนาม ประกอบไปด้วย
1. การการยกระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
2. การใช้นโยบายของรัฐบาลที่ยังคงผ่อนคลาย หลังเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย
3. แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนาม
4. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (สัดส่วนราว 10% ของ GDP) โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของเวียดนามเติบโตดีขึ้นมาก
โดยรัฐบาลตั้งเป้าไว้ 8 ล้านคน แต่กลับมีนักท่องเที่ยวมากถึง 11 ล้านคน
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง มองว่า ตลาดหุ้นเวียดนามในปี 2567
จะกลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 66 หลังค่าเงินดองที่อ่อนค่าได้ผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว
และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเวียดนามจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ราว 5.3% ต่ำสุดในรอบ 1 ปี
พูดง่ายๆ คือ ตลาดหุ้นเวียดนามน่าลงทุนเป็นอย่างมาก ... แต่
ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อไม่นานมานี้กรมสรรพากร มีการประกาศออกมาแล้วว่านักลงทุนที่ลงทุนหุ้นต่างประเทศ
จะต้องเสียภาษีตามอัตราบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะเสียภาษีสูงสุดถึง 35%
คำถาม คือ ถ้าเราอยากลงทุนหุ้นเวียดนาม และอยากจัดการบริหารภาษีไปด้วย เราจะมีวิธีการอย่างไร ?
คำตอบ คือ การลงทุนใน DR ที่ลงทุนในเวียดนาม ซึ่งในตลาดหุ้นไทยจะมี DR อยู่ 2 ตัว คึอ E1VFVN3001 และ FUEVFVND01
E1VFVN3001
DR ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงคือ DCVFMVN30 ETF ที่อิงดัชนี VN 30 ในเวียดนาม หุ้นชั้นนำ 30 ตัว (คล้ายดัชนี SET50 ของไทย) เป็นดัชนีที่นิยมในการใช้เป็นตัวแทนของหุ้นเวียดนาม เนื่องจากมูลค่าตลาดของหุ้นในดัชนีมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 60% ของตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม E1VFVN3001 ได้ที่ : www.bualuang.co.th/e1vfvn3001
FUEVFVND01
DR ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิง คือ DCVFMVN DIAMOND ETF ที่อิงดัชนี VN Diamond ในเวียดนาม เป็นดัชนีที่ถูกจัดทำขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ และออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งรวมถึงนักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในหุ้นเวียดนามแต่ติดข้อจำกัด Foreign Ownership Limit (FOL) โดยไม่ต้องซื้อหุ้นที่ราคาพรีเมียม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม FUEVFVND ได้ที่ : https://www.bualuang.co.th/content/718-.html
เวียดนาม อาจจะกลับมาเป็นปีทองของการลงทุนก็เป็นไปได้ในปี 2567
แต่ประเด็นเรื่องการบริหารภาษี ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ถ้าเรารู้จักเครื่องมือที่เรียกว่า DR
จะช่วยสร้างผลตอบแทนอ้างอิงจากการลงทุนในเวียดนาม พร้อมทั้งบริหารภาษีไปด้วยในเวลาเดียวกันครับ ...