เมื่อวานที่ผ่านมา มีกระแสข่าวดีเรื่องของการค้นพบแร่ลิเทียมมูลค่ามากถึง 14 ล้านตันที่ จังหวัดพังงา
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งสำรวจจนพบแหล่งแร่ลิเทียมที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม จ.พังงา
ล่าสุด ไทยยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในพื้นที่ภาคอีสานปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้งสองชนิดนี้ถือเป็น แร่หลักหรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100% เสริมศักยภาพความพร้อมของไทยในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค
ที่สำคัญ คือ แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวตรงกันว่า แร่ลิเทียมที่ไทยค้นพบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก
โดยอันดับ 1 คือ ประเทศโบลิเวีย รองลงมาเป็นอาร์เจนตินา และประเทศไทย
และแร่ดังกล่าวยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า หรือ EV 100%
โดยสรุป คือ ไทยสำรวจพบ แร่ลิเทียม 14 ล้านตัน สูงสุดอันดับ 3 ของโลก
คำถาม คือ หุ้นไหนน่าจะได้ประโยชน์บ้าง ?
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่า ประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มธุรกิจ EV
รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยได้
โดยกลุ่มหุ้นที่จะได้ประโยชน์ มีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกัน คือ
1. หุ้น PTT และ GPSC
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30 MWh ในประเทศไทย ซึ่งรองรับธุรกิจ EV ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
รวมถึงการถือหุ้นผ่านบริษัท AXXIVA และ NV Gotion โรงงานแบตเตอรี่ในจีน เพื่อส่งมอบรถ EV ในต่างประเทศ
2. หุ้น EA
บริษัทมีโรงงานแบตเตอรี่ในไต้หวัน 400 MWh และโรงแบตในประเทศไทยอีก 1000 MWh
ปั้จจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อป้อนให้กับยานยนต์ไฟฟ้าในบริษัทของ EA เอง และมีแผนจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 2000 - 4000 MWh
- สรุปสาเหตุหุ้น M การฟื้นตัวที่ช้า ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงเกือบครึ่ง ?
- SCC ราคาหุ้นที่ตกต่ำกว่า 20% ใน 1 ปี นักลงทุนอาจจะเห็นผลประกอบการที่ "ขาดทุน"
- ส่อง CPAXT สาเหตุหุ้น +11% ตั้งแต่ต้นปี ผลประกอบการ MAKRO มีแนวโน้ม "สดใส"
3. หุ้นกลุ่ม Banpu และ BPP
ทั้ง 2 บริษัท ลงทุนใน "ดูราเพาเวอร์" ที่ประเทศจีน เป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในจีน 1000 MWh ที่ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมและรถ EV เพื่อการกักเก็บพลังงาน
อีกทั้งยังมีการร่วมทุนกับผู้ให้บริการรถบัสรายใหญ่ของไทย สร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน กำลังการผลิต 200 MWh และดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2567
โดยจะเน้นกลุ่มรถบัสไฟฟ้า เป็นหลัก
4. หุ้น BCPG
มีการร่วมมือศึกษากับกุล่ม Ampace ของประเทศจีน เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสองล้อและสามล้อ
และแบตเตอรี่ในภาคครัวเรือน ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม
ฝ่ายวิจัย ยังสรุปอีกด้วยว่า แร่ลิเทียมที่ค้นพบอยู่ในช่วงเริ่มต้น
จะไม่ส่งผลต่อกำไรของบริษัทที่กล่าวมาสักเท่าไรนัก ในระยะสั้น
แต่มุมมองระยะยาวแล้ว ถือเป็นการผลักดันกระแส EV ให้กลับมาได้อีกครั้ง
โดยเฉพาะบริษัทที่มีการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ รวมถึงช่วยเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยในระยะยาว
------------------------------------------------------------------------------
Reference
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์