#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน
#มือใหม่เริ่มลงทุน

ปิดสมุดผู้ถือหุ้นบ่อยๆ มีค่าใช้จ่าย ทำได้ไม่ผิด แต่ก็ไม่ควรทำบ่อยเกินไป

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,412 views

เมื่อ 1-2 วันมานี้ มีประเด็นเรื่องของการ "ปิดสมุดทะเบียน" 
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ การปิดสมุดทะเบียน จะมาพร้อมกับ "รายชื่อผู้ถือหุ้น" ว่ามีใครบ้างและถืออยู่กี่หุ้น 
เพื่อต้องการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้น เช่น 
- สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
- สิทธิในการรับเงินปันผล
- สิทธิในการรับการจัดสรรหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิม
- สิทธิในการจองซื้อวอร์แรนต์ 
เพื่อบริษัทจดทะเบียนจะทราบว่า มอบสิทธินั้นให้ใคร ให้เท่าไร จำนวนกี่ราย
เพราะเวลาบริษัทเป็นมหาชน จะถูกซื้อขายในกระดานหุ้น ทำให้หุ้นมีการเปลี่ยนมือกันทุกวัน 
จึงต้องกำหนดรายชื่อของผู้ถือหุ้นในวันใดวันหนึ่งเป็นวันที่จะได้รับสิทธินั้น ๆ

 

และตลาดหลักทรัพย์ ก็มีการแสดง "สัญลักษณ์" ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ให้ผู้ลงทุนทราบ 
โดยผ่านเครื่องหมาย X ประเภทต่างๆ (เช่น XD ก็หมายถึงการจ่ายเงินปันผล)
ภายหลังจากการขึ้นเครื่องหมาย X ต่าง ๆ หลังจากนั้น จะมีการอัปเดต รายชื่อผู้ถือหุ้น

คำถาม คือ ถ้าผู้บริหารอยากจะปิดสมุดผู้ถือหุ้น ทำได้เองไหม
คำตอบ คือ ทำได้ ...
โดยแจ้งให้กับBroker และ custodian ล่วงหน้า 2 วันทำการ 
เพื่อให้ Broker และ custodian ส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นในส่วน scripless ให้ตามวันที่ บริษัทกำหนด
ต่อมาจึงเตรียมจัดส่งข้อมูลให้ TSD แล้ว TSD จึงจะส่งต่อให้บริษัทในวันทำการถัดไป
ขั้นตอนที่ดูไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทสามารถทำได้ "ทุกวัน" ตามความต้องการ

 

แต่การขอปิดสมุด ก็มีค่าใช้จ่ายด้วยเหมือนกัน 
โดยการรวมรายชื่อ ผู้ถือหุ้น จะต้องมีค่าใช้จ่าย รายชื่อละ 1 บาท หรือ ขั้นต่ำ 500 บาท 
สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการปิดสมุดของดูรายชื่อ 1 ครั้ง
พูดง่ายๆ คือ การปิดสมุดทะเบียนแต่ละครั้ง บริษัทต้องจ่ายเงินราวๆ หลักพันถึงหมื่นบาทต่อครั้ง
ถ้าเราลองคำนวนดูคร่าวๆ
ถ้าสมมุติว่า การปิดสมุดทะเบียนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 2 หมื่นบาทต่อครั้ง
ใน 1 เดือน มีวันทำการ 20 วัน เท่ากับว่า ใน 1 เดือนจะต้องมีค่าใช้จ่ายราวๆ 4 แสนบาทต่อเดือน เลยทีเดียว

 

แน่นอนว่าในมุมของบริษัทจดทะเบียน ค่าใช้จ่ายราวๆ 2 หมื่นบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้สูงมาก
แต่การทำบ่อยๆก็อาจจะดู "ไม่ปกติ" 
เพราะโดปกติแล้ว การขอปิดสมุดเพื่อดูรายชื่อผู้ถือหุ้น จะเกิดในกรณีที่บริษัทมีความสงสัยความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ 
เช่น โดนไล่ซื้อหุ้นจากบุคคลภายนอกเพื่อหวังเทคโอเวอร์ 
หรือการดูว่ามีใครเข้ามาพยายามถือหุ้นใหญ่แบบไม่ทราบล่วงหน้า (Hostile Takeover)
ในทางกลับกัน เวลาหุ้นลงแรงๆ ก็สามารถดูรายชื่อผู้ถือหุ้นเพื่อที่จะตรวจสอบว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือพันธมิตรทางธุรกิจที่ถือหุ้นใหญ่ มีการเทขายหุ้นออกไปบ้างไหม

 

พูดง่ายๆ คือ การปิดสมุดทะเบียนเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ผิดกฏหมาย แต่ก็ไม่ควรทำบ่อยๆในเชิงปฏิบัติ
เพราะตามหลักความเป็นจริง คือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท หรือ ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์อะไรเลย
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า บริษัทที่เป็น "มหาชน" จะมีความอิสระในการซื้อหุ้น / ขายหุ้น
ใครอยากซื้อก็สามารถซื้อได้ ที่ราคาไหนก็ได้
หรือถ้าใครอยากจะขาย ก็สามารถขายได้ทันที เพราะไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฏหมายแต่อย่างไร
แต่การที่ไปตรวจเช็คจำนวนหุ้น ว่าขึ้นเพราะอะไร หรือลงเพราะ มันอาจจะดูไม่ค่อยดีเท่าไรนักในมุมอของผู้บริหารที่ต้องทำประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้น มุ่งเน้นการเติบโตของกำไร นำองค์กรไปสู่ความยั่งยืน มากกว่าที่จะมาสนใจราคาหุ้นว่าลงมากน้อยแค่ไหน หรือมีใครทุบหุ้นตัวเองหรือไม่

 

ก็ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และทำให้เราได้เรียนรู้ว่า
1. การปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นสามารทำได้ ไม่ผิดกฏหมาย แต่ถ้าทำบ่อยมันก็อาจจะดูแปลกไปสักหน่อย
2. การปิดสมุดทะเบียนแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่าย
ซึ่งในมุมของบริษัทจดทะเบียนอาจจะไม่ได้สูง แต่การจ่ายเงิน 4 แสนบาทต่อเดือน โดยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรให้กับบริษัทก็อาจจะดูไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไรนัก 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง