ทำไม “ประเทศไทย” ต้องเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเพิ่มอีก 40-50 บาท
หลายคนอาจกำลังไม่พอใจกับกระแสข่าวล่าสุดที่สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกมาเปิดเผยว่ากำลังศึกษาแนวทางการดำเนินนโยบยอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งคาดว่าจะมีการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าจากเอกชนเป็นจำนวนเงิน 200,000 ล้านบาท
นอกจากจะรถติดแล้วก็ยังต้องเสียเงินเพิ่มอีก ? ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้ Stock2morrow จะพาคุณมาทำความเข้าใจว่าทำไมประเทศไทยถึงอาจจำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมจากรถติดเพิ่มอีก 40-50 บาท
[ทำไมต้องซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน ?]
การซื้อคืนรถไฟฟ้าจากเอกชนจะทำให้รัฐบาลสามารถตั้งราคารถไฟฟ้าได้ถูกลง ปัจจุบันค่ารถไฟฟ้าตลอดสายอยู่ที่ 47 บาท โดยการที่จะลดมาอยู่ที่ 20 บาทตลอดสายมีต้นทุนที่จะต้องใช้จำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้ราคาเป็นธรรม เข้าถึงง่าย ทำให้รัฐบาลเตรียมจัดตั้งกองทุนกำหนดระยะเวลา 30 ปี
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวจะเกิดจากการลงทุนจากผู้ที่สนใจและรับคืนในรูปแบบดอกเบี้ยหรือเงินปันผล และคาดว่าจะมีการเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมรถติด (Congrstion Charge) ตามที่รัฐบาลได้ศึกษาจากประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ
[ไทยได้เงินหมุนเวียน 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปี]
จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในเส้นทางถนนสุขุมวิท, ถนนสีลม, ถนนรัชดาภิเษก ฯลฯ ซึ่งจะจัดเก็บเป็นระยะเวลา 5 ปี ในอัตราที่ 40-50 บาท จากนั้นจะเก็บค่าธรรมเนียมตามความเหมาะสม โดยเฉลี่ยแล้วในถนนเส้นหลักของกรุงเทพฯ มีจำนวนรถยนต์มากกว่า 7 แสนคัน ซึ่งหากเก็บ 50 บาทต่อคันจะทำให้มีเงินหมุนเวียนราว 35 ล้านบาทต่อวันหรือราว 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะและฝุ่น PM2.5 ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามเราต้องรอความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นภายในกลางปี 2568
เราต้องมาติดตามกันต่อไปว่าประเทศไทยจะเก็บเงินค่าธรรมเนียมรถติดจริงหรือไม่ ? ซึ่งหากเป็นไปตามความจริงอาจเป็นการผลักภาระให้กับผู้ใช้รถยนต์มากถึง 1,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว
#Stock2morrow #สื่อและสังคมของนักลงทุน #ประเทศไทย #เศรษฐกิจ #รถไฟฟ้า